วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (The scientific method) เป็นวิธีการที่ Frederick W. Taylor นำมาใช้ในการค้นหาแนวทางของการทำงานที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1) การสังเกต (observation) เป็นขั้นตอนแรกของการค้นหาข้อบกพร่องของงาน โดยการสังเกตและบันทึกข้อมูล ซึ่งต้องใช้ดุลยพินิจและความละเอียดรอบคอบ
2) การกำหนดปัญหา (definition of the problem) เมื่อสังเกตพบสิ่งผิดปกติใดๆจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า เป็นปัญหาที่แท้จริงหรือเป็นเพียงอาการของปัญหา เพื่อกำหนดขอบเขตของปัญหาให้แน่นอน
3) การตั้งสมมติฐาน (formulation of a hypothesis) สมมติฐาน หมายถึง ข้อสมมติซึ่งคาดการณ์ไว้ก่อน เกี่ยวกับคุณลักษณะของตัวแปร หลังจากที่ได้กำหนดขอบเขตของปัญหาแล้ว ก็จะตั้งสมมติฐาน เพื่อเป็นแนวทางไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
4) การทดลอง (experimentation) ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องมีการทดลอบสมมติฐานที่ตั้งขึ้นว่าใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ อาจใช้มากกว่า 1 วิธี ซึ่งผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจ
5) การวิเคราะห์และการสรุปผล (analysis and result) เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มาทำการวิเคราะห์ผล อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อใด แล้ว สรุปข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองว่าสมมติฐานข้อใดถูก พร้อมทั้งสร้างทฤษฎีที่จะใช้เป็นแนวทางสำหรับอธิบายปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่คล้ายกัน และนำไปใช้ปรับปรุงการบริหารให้ดีขึ้น
ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือ วิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน โดยประสิทธิภาพของการทำงาน จะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1) เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (selection)
2) ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (training)
3) หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว ท่านเชื่อว่า มีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียวที่ดีที่สุด

รูปที่ 1.1 Frederick
Winslow Taylor (March 20, 1856 – March 21, 1915)
ที่มา: Wikipedia.com/20
พฤษภาคม 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น