วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กลยุทธ์การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (Unrelated diversification strategies)

กลยุทธ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการกระจายอุตสาหกรรมและธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ซึ่งเน้นถึงประโยชน์ทางการเงินที่ดึงดูดใจเป็นสำคัญ การกระจายเข้าสู่อุตสาหกรรมใด ๆ ด้วยโอกาสของกำไรที่ดีจากกลยุทธ์นี้ เกณฑ์ที่ใช้การค้นหาและคัดเลือกธุรกิจที่ต้องการกระจายบริษัทที่จะเข้ามาร่วมกิจการ มีดังนี้คือ
1) ธุรกิจสามารถสร้างกำไรและผลตอบแทนจากการลงทุนได้ตามเป้าหมายหรือไม่
2) ธุรกิจใหม่ต้องการเงินทุนเพื่อซื้อสินทรัพย์คงที่ การขยายเงินทุน และการหาเงินทุนหรือไม่
3) ธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตหรือไม่
4) ธุรกิจใหญ่พอที่จะสร้างประโยชน์ที่เพียงพอให้กับบริษัทแม่ได้หรือไม่
5) มีข้อกำหนดหรือกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ หรือสภาพแวดล้อมที่เป็นอุปสรรคหรือไม่
6) อุตสาหกรรมมีอุปสรรคจากเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยสูง หรือนโยบายของรัฐบาลหรือไม่

บางครั้งบริษัทใช้กลยุทธ์นี้โดยมุ่งที่ผู้ซื้อที่มีโอกาสจากผู้ซื้อกิจการที่ได้ประโยชน์ทางด้านการเงินในสถานการณ์เฉพาะอย่าง (Special situation) ของธุรกิจ 3 ชนิด ที่เป็นที่น่าดึงดูดใจ คือ

1) บริษัทที่มีสินทรัพย์ที่มีค่าต่ำกว่าราคาตลาด (Companies whose assets are undervalued)
2) บริษัทซึ่งมีความเดือดร้อนด้านการเงิน (Companies that are financially distressed)
3) บริษัทซึ่งมีความมุ่งหวังด้านการเจริญเติบโต แต่มีเงินทุนไม่พอ (Companies that have bright growth prospects but are short on investment capital)

ข้อดีและข้อเสียของการกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กัน (The pros and cons of unrelated diversification) มีหลายประการดังนี้
1) ความเสี่ยงของธุรกิจจะกระจายตามอุตสาหกรรมต่าง ๆกัน ซึ่งเป็นการดีสำหรับการกระจายความเสี่ยงด้านการเงินเมื่อเปรียบเทียบกับการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กัน เนื่องจากการลงทุนของบริษัทสามารถขยายสู่ธุรกิจที่มีเทคโนโลยี การแข่งขัน ลักษณะตลาด และฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน
2) ทรัพยากรด้านการเงินของบริษัท เป็นข้อได้เปรียบสูงสุดจากการลงทุนในอุตสาหกรรมที่คาดหวังว่าจะมีกำไรดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสเงินสดจากธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตช้ากว่า สู่ธุรกิจที่เติบโตเร็ว และมีศักยภาพด้านกำไร
3) ความสามารถในการสร้างกำไรของบริษัทเป็นข้อพิสูจน์ว่าบริษัทมีความมั่นคงมากขึ้น

จากการกระจายที่กว้าง ผู้จัดการบริษัทต้องมีไหวพริบปฏิภาณในด้านต่อไปนี้

1) สามารถแยกแยะบริษัทที่ดีออกจากบริษัทที่ไม่ดีได้
2) เลือกผู้จัดการที่มีความสามารถในการดำเนินงานในหลายธุรกิจได้
3)สามารถพิจารณากลยุทธ์ที่สำคัญของผุ้จัดการหน่วยธุรกิจได้
4) ต้องรู้ว่าจะต้องทำอะไร ถ้าหน่ายธุรกิจมีปัญหา


การกระจายธุรกิจที่ไม่สัมพันธ์กันและการสร้างคุณค่าให้ผุ้ถือหุ้น (Unrelated diversification and shareholder value) การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันในทัศนะด้านการเงินคือ การสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น (Share holder value) เนื่องจากต้องใช้เครือข่ายการสร้างคุณค่าในธุรกิจต่าง ๆ ด้วยต้อนทุนที่ต่ำกว่า การถ่ายโอนทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และเพิ่มผลประโยชน์กลยุทธ์ที่เหมาะสมอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเปลี่ยนกลยุทธ์ที่เหมาะสมระหว่างธุรกิจของบริษัท เข้าสู่ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่จะไปสู่ธุรกิจสาขาที่สามารถบรรลุความสำเร็จได้ ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่เพิ่มเข้ามา จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จโดยวิธีการกระจายธุรกิจแบบสัมพันธ์กันซึ่งเป็นสิ่งที่ผลักดันสู่การสร้างคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น

หลักของการกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันเป็นพื้นฐานการสร้างคุณค่าให้ผู้ถือหุ้น ซึ่งนอกเหนือจากการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมและการสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันแล้ว จะต้องมีกำไรที่เพียงพอจากกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ที่ผู้จัดการระดับธุรกิจสร้างขึ้นมาได้ ดังนั้นกลยุทธ์การกระจายธุรกิจแบบไม่สัมพันธ์กันจึงไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหมาะสม ถ้าผู้สร้างกลยุทธ์บริษัทไม่สามารถสร้างคุณค่าผู้ถือหุ้นโดยการได้บริษัทมา ซึ่งจะสร้างโอกาสการแข่งขันแบบรวมสำหรับธุรกิจสาขา

สำหรับการกระจายแบบไม่สัมพันธ์กันเพื่อส่งผลในการเพิ่มคุณค่าผู้ถือหุ้น กลยุทธ์บริษัทต้องมีทักษะที่ดีกว่า ในการสร้างและบริหารการกระจายธุรกิจที่เหนือกว่า มีดังนี้

1) สามารถทำงานที่ดีกว่าเมื่อกระจายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าพอใจ
2) มีความสามารถเหนือกว่าในการเจรจาต่อรองราคาโดยการซื้อด้วยราคาต่ำ
3) มีความฉลาดพอที่จะขยายสาขาธุรกิจที่ซื้อมาก่อนหน้า ขณะที่กำลังทำกำไร
4) เปลี่ยนทรัพยากรการเงินของบริษัทเชิงรุกอย่างฉลาด และออกจากธุรกิจที่มองไม่เห็นกำไรหรือไม่มีโอกาสหสร้างกำไร
5) ทำงานในสาขาธุรกิจของบริษัทอย่างดี และช่วยบริหารธุรกิจนั้นเพื่อสร้างระดับที่สูงกว่า โดยเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา การใช้กลยุทธ์แบบสร้างสรรค์ และการแนะนำด้านการตัดสินใจของผุ้จัดการระดับ
ธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น